สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 2
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 171
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,163,435
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
19 มีนาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
     
10  11  12  13  14  15  16 
17  18  19  20  21  22  23 
24  25  26  27  28  29  30 
31             
 
โรคมะเร็งในน้องตูบ
[4 เมษายน 2555 11:39 น.]จำนวนผู้เข้าชม 47620 คน
 โรคมะเร็งในน้องตูบ

 
 

   มะเร็ง เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับสุนัขทุกตัว หากเจ้าของหมั่นสังเกตดูลักษณะความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดกับสุนัขและทำมาพบสัตวแพทย์ทันท่วงทีก็มีโอกาสที่สัตว์ป่วยจะหายจากมะเร็งได้

การสังเกตลักษณะผิดปกติ

   เจ้าของสัตว์สามารถสังเกตลักษณะความผิดปกติได้ง่ายๆ โดยสังเกตลักษณะการกินอาหารว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร, 
สังเกตลักษณะการขับถ่ายของสุนัขว่ามีความถี่ ลักษณะสิ่งขับถ่าย และอาการเบ่งหรือไม่ นอกจากนี้เวลาที่ทำการอาบน้ำสุนัขเจ้าของลองคลำ 
หรือลูบไปบนผิวหนัง แล้วดูว่ามีก้อนหรือตุ่มเนื้อ ที่ทำให้สุนัขเจ็บปวดหรือไม่ เป็นต้น หรืออาจสังเกตจาก 10 สัญญาณ อันตรายของโรคมะเร็ง

10 สัญญาณอันตรายของโรคมะเร็ง

1. มีการบวมขึ้นอย่างผิดปกติที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือมีการบวมโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. เกิดแผลที่ไม่หาย เป็นอย่างเรื้อรัง
3. น้ำหนังลดอย่างรวดเร็ว
4. มีเลือด หรือสารคัดหลั่งออกมาจากช่องเปิดต่างๆในร่างกาย
5. กินอาหารลดลง
6. มีกลิ่นเหม็นออกมา หรือมีกลิ่นตัวที่ผิดปกติ
7. กินอาหารไม่ได้ (ดูกินยาก, กลืนอาหารไม่ได้)
8. ไม่อยากออกกำลังกาย หรือออกกำลังได้ไม่นานเท่าเดิม
9. เจ็บขาเรื้อรัง
10. มีอาการหายใจลำบาก ปัสสาวะ หรืออุจจาระลำบาก



มะเร็งที่พบได้ในสุนัข

- สุนัขเพศผู้ ที่เป็นทองแดง (ลูกอัณฑะไม่อยู่ในถุงอัณฑะครบทั้ง 2 ลูก แต่อยู่ในช่องท้อง) เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น ลูกอัณฑะนี้จะมีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อลูบที่หน้าท้องสามารถคลำพบนั้นมีโอกาสที่จะกลายเป็นเนื้อร้ายสูง ดังนั้นควรทำการผ่าตัดออกโดยเร็วเมื่อแน่ใจว่าสุนัขของท่านเป็นทองแดง เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่จะกลายเป็นมะเร็งที่อัณฑะในช่องท้องได้

- สุนัขเพศเมีย มีโอกาสเป็นมะเร็งที่เต้านม หากคลำเต้านมของสุนัข แล้วพบว่ามีก้อนน่าสงสัยให้รีบนำไปพบสัตวแพทย์เพื่อรีบทำการผ่าตัดเอาออกโดย ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง หรือปล่อยนานจนขนาดก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากและแตกออก ซึ่งการแก้ไขและการดูแลแผลจะยุ่งยากมากขึ้น แต่การทำหมันสุนัขเพศเมีย มีโอกาสช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งที่เต้านมมากขึ้น หากเริ่มทำตั้งแต่ก่อนสุนัข จะเป็นสัดครั้งแรก นอกจากนี้อาจพบเนื้องอกที่กระเพาะปัสสาวะสุนัขเพศเมียซึ่งจะมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือกระปริปกระปรอย การวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ

- การเกิดเนื้องอกที่ปาก หากสังเกตพบว่าสุนัขมีก้อนเนื้อที่บริเวณเหงือกในปากหรือคลำพบก้อนที่น่า สงสัยในบริเวณขากรรไกรทั้งสองข้างให้รีบนำมาพบสัตวแพทย์ เพราะมีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นมะเร็ง ถ้ามะเร็งยังไม่ลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง หรือไม่ลุกลามไปที่กระดูก อัตราการรอดชีวิตของสุนัขจะนานกว่า การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการฉายรังสีร่วมกับการผ่าตัด

- มะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยพบว่ามีต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ ทั้งบริเวณใต้คางและที่ขาหลังเจ้าของจะสังเกตพบว่าสภาพของสัตว์ปกติ กินอาหารได้ แต่มีก้อนใต้คางหรือตามลำตัวเท่านั้น มะเร็งชนิดนี้มักลุกลามไปที่ปอดหรือต่อมน้ำเหลืองในช่องอกและช่องท้อง ตับ ม้าม รักษาโดยใช้เคมีบำบัด หรือรักษาแบบพยุงอาการ

- ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น รอตต์ไวเลอร์, โดเบอร์แมนน์ และ เยอรมัน เชพเพิร์ด เป็นต้น มีโอกาสสูงที่จะเกิดเป็นมะเร็งที่กระดูก ซึ่งอาจสับสนกับการเกิดข้ออักเสบ หรือเข้าใจว่าเป็นกระดูกหัก เพราะสุนัขอาจมีอาการเจ็บปวด ไม่ใช้ขา ควรถ่ายภาพรังสีเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโดยจะพบลักษณะการเสื่อมของกระดูก และเจาะเอาชิ้นส่วนกระดูกไปวินิจฉัย (ซึ่งถือว่าเป็นการวินิจฉัยที่ยืนยันที่ดี) มักพบวิการที่ส่วนกระดูกของขาหน้าและกระดูกขาหลัง หรืออาจพบที่กระดูกสันหลัง การรักษาทำได้โดยการตัดออกก่อนที่มะเร็งจะลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งจะทำให้สัตว์มีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานมากขึ้น แต่ถ้ามะเร็งอยู่ในขั้นลุกลามการแก้ไขด้วยการผ่าตัดจะช่วยเพียงเพื่อให้ คุณภาพชีวิตของสัตว์ดีขึ้นหรือบรรเทาความเจ็บปวดลง

- มะเร็งชนิดที่พบได้บ่อยมากที่ผิวหนังของสุนัข คือ Mast Cell Tumour ลักษณะภายนอกคล้ายเป็นแผลธรรมดา รักษาแผลนานจนเรื้อรังก็ไม่หาย และขนาดของแผลก็โตมากขึ้น การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยนำเซลล์ที่แผลมาตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ เนื้องอกชนิดนี้พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์บ๊อกเซอร์ ลักษณะก้อนเนื้อจะมีเลือดไหลและมีการอักเสบแดงอย่างผิดปกติที่ผิวหนัง ถ้าทิ้งไว้นานจนก้อนเนื้อมีขนาดโตขึ้นจะแตกออก และมีการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการอื่นๆ เช่น โลหิตจาง เสียเลือด เกิดกระเพาะอาหารเป็นแผล เป็นต้น รักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อที่ผิวหนังออกโดยเร็ว หากพบว่าเนื้อร้ายได้ลุกลามลึกมากแล้ว การแก้ไขด้วยวิธีการผ่าตัดอาจไม่ใช่วิธีการรักษาที่ดีที่สุดนัก เพียงแต่ช่วยพยุงอาการไว้



มะเร็งร้ายกับสุนัขของท่านที่ไม่ควรมองข้าม

     ช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรงพยาบาลสัตว์ของเรามักพบเคสโรคมะเร็งบ่อยมากขึ้น และที่พบมากขึ้นได้แก่มะเร็งที่มักเกิดในสุนัขพันธุ์ใหญ่ ได้แก่  Golden Retriever ได้แก่ การเกิดมะเร็งที่ม้ามที่มีชื่อว่า Hemangiosarcoma

 มะเร็งชนิด Hemangiosarcoma นี้เป็นอย่างไร

    โรคมะเร็งชนิดนี้ถือว่าเป็นมะเร็งที่ไม่สามารถรักษาหายได้ โดยจะเกิดในหลอดเลือดและสามารถแพร่กระจายได้ง่าย พบได้บ่อยในสุนัขในอัตรา 5-7% ของประชากรสุนัขที่เป็นโรคมะเร็ง มักพบในสุนัขที่มีอายุเกิน 6 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะในสุนัขพันธ์โกลเด้นส์เป็นส่วนใหญ่
     อวัยวะในร่างกายที่พบบ่อย ได้แก่ ม้าม หัวใจห้องบนด้านขวา หรือในชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง สามารถแพร่กระจาย Metastasis ต่อไปยังอวัยวะที่สำคัญภายในร่างกายและน้ำเหลืองในกระแสเลือด
    เป็นที่น่าสังเกตุว่า มะเร็งชนิดนี้กว่าจะตรวจพบอาการ มักจะลุกลามหรือเกิดภาวะหลอดเลือดแตกไปแล้ว ทำให้การรักษาไม่ว่าทางใดจะไม่ได้ผล เพราะเกิดการแพร่กระจายไปในกระแสเลือดและน้ำเหลือง ปอด ตับ ลำไส้ ทำให้เกิดภาวะเลือดออก มีผลทำให้ค่าความเข้มข้นในเม็ดเลือดแดงต่ำลงเรื่อยๆ  (Hct มักน้อยกว่า 30) หากค่าดังกล่าวลดต่ำกว่า 25 จะต้องรีบให้เลือด Blood Transfusion เพื่อยืดเวลาการเสียชีวิต  แต่ในที่สุดสัตว์มักจะช๊อค และเสียชีวิตในที่สุด
   
สาเหตุการเกิดมะเร็งชนิดนี้
 
    พบว่าโอกาสการรอดชีวิตหลังการผ่าตัดโดยตัดเอาม้ามออกอยู่ที่  90 วัน   หรือในบางรายที่มีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดสามารถอยู่ได้นาน 180 วัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพของตัวสุนัขเป็นหลัก
   ยังไม่มีใครบอกได้ เพียงแต่มีรายงานว่าพบบ่อยในสุนัขมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น โดยเฉพาะในกลุ่มพันธุ์สุนัขที่เสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้  Cancer is genetic disease, although it is not heritable หมายความว่า แม้มะเร็งจะเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะถ่ายทอดกับลูกทุกตัวได้เสมอไป  ในปัจจุบันมีการรักษาทางเลือกสำหรับโรคมะเร็งชนิดนี้ เช่น ชนิดของอาหาร สมุนไพรต่างๆ แต่ยังไม่มีการยืนยันในความสำเร็จการรักษานี้

   
อาการทั่วไปที่มักตรวจพบ
 
   เมื่อสัตวแพทย์ทำการซักประวัติอย่างละเอียด โดยทั่วไปมักพบอาการเบื้องต้นไม่รุนแรง เช่น แสดงอาการอ่อนเพลีย บางตัวขาไม่มีแรง ซึม บางตัวไม่ทานอาหาร มีอาเจียน เป็นต้น  ถ้าหากสัตวแพทย์ไม่ได้นึกถึงหรือทำการตรวจละเอียดอาจทำให้การวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคของระบบกระดูกหรือระบบประสาทก็ได้ 
     ดังนั้นการที่เจ้าของสัตว์ยินยอมให้สัตวแพทย์ทำการตรวจละเอียด ได้แก่ การทำเอกเรย์ การตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะสามารถช่วยลดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยได้เป็นอย่างมาก และหากเรารู้ผลแต่เนิ่นๆก็ยังเป็นโอกาสดีจะป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายต่อไป และสิ่งสำคัญที่สัตวแพทย์ควรคำนึงถึงในสุนัขที่พบว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้ คือ มะเร็งชนิดนี้มีผลต่อหัวใจ ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เรียกว่า  Ventricular arrhythmia คือ จะทำให้หัวใจเต้นเร็วมาก ( เกินกว่า 150 ครั้ง/นาที ) ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง รวมทั้งตัวหัวใจเองก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกไปได้ เกิดภาวะสมองและอวัยวะสำคัญต่างๆ ขาดเลือด  เกิดภาวะช๊อคอย่างเฉียบพลัน และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นอย่างมาก
     โรงพยาบาลสัตว์สัตวแพทย์ 4  ทุกครั้งที่มีการวินิจฉัยและพบว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้ สัตวแพทย์ด้านโรคหัวใจของเราจะเข้ามาตรวจดูความผิดปกติของหัวใจและทำการแก้ไขสภาพความผิดปกติของหัวใจก่อนการผ่าตัด โดยการติด Telemetry  (ตามรูป) เพื่อบ่งบอกให้เห็นความผิดปกติของการเต้นของหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงและสามารถรีบแก้ไขได้ทันเวลา  เพราะถ้าไม่มีเครื่องมือ Telemetry ดังกล่าวจะไม่สามารถบอกได้ว่าในขณะนั้นตัวสัตว์มีภาวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติอยู่ 
 
 การแก้ไข
 
   อาการหัวใจเต้นผิดปกติ โดยการใช้ยาฉีดและยากิน พบว่าจะสามารถช่วยยืดเวลาจากภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด โอกาสที่รอดชีวิตหลังการผ่าตัดจะมีมากขึ้น พบว่าหลังการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไป อาการผิดปกติในเรื่องการเต้นของหัวใจจะหายไป สัตว์ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานยาโรคหัวใจต่อ
  
คำแนะนำเพิ่มเติม 
 
   เจ้าของสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยเฉพาะโกลเด้น ลาบาดอร์ อัลเซเชียน บ๊อกเซอร์ ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ควรที่เจ้าของสุนัขจะพามาตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติ อย่างน้อย ทุก 6 -12   เดือน และเมื่อเห็นความผิดปกติ ควรรีบทำการผ่าตัดด้วยการผ่าตัดเอาม้ามออก จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดโรคที่แพร่กระจาย หรือว่าสายเกินแก้ไข
   อาการผิดปกติของสุนัขที่เราห้ามมองข้าม หรือนิ่งนินใจเป็ยอันขาด เพราะหากมองข้ามอาการป่วยเหล่านี้ไปก็อาจทำให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของเรา แสดงอาการเข้าขั้น  อาจบาดเจ็บถึงตาย ได้นะค่ะ ซึ่งรวบรวมได้ 8 อาการป่วยที่ห้ามพลาดดังนี้เลยค่ะ



อาการที่ 1 : หายใจผิดปกติ

หากสุนัขแสดงอาการหายใจผิดปกติไป เช่น หายใจลำบาก อ้าปากหายใจ หอบ หายใจด้วยช่องท้อง หรือหายใจขัด นั่นบ่งบอกถึงปัญหาโรคหัวใจ โรคปอดอักเสบ ปอดบวม ปอดชั้น น้ำท่วมปอด หรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จนถึงมะเร็งปอดได้

อาการที่ 2 : ท้องเสียเกิน 2 วัน

ในกรณีท้องเสียธรรมดานั้นอาจเกิดจากปัญหาจากอาหารจากอาหารที่เสาะท้อง ซึ่งมักจะเป็นเพียงประเดี๋ยวประด๋าวก็หาย แต่หากยังมีอาการท้องเสียเกิน 2 วัน เราจำเป็นต้องพาน้องหมาไปหาหมอโดยด่วนแล้ว เพราะโรคท้องร่วงนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาภาวะร่างกายขาดน้ำขั้นรุนแรงได้ โดยเฉพาะการเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือบิดมีตัว ซึ่งจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของต้นตอของเชื้อโรคให้ได้ หมอจะได้รักษาถูกโรค

อาการที่ 3 : อาเจียน

การอาเจียนเป็นครั้งคราวของสุนัขอาจจะมาจากสาเหตุของอาหารไม่ย่อย หรือกินของสกปรก เช่น ขยะเข้าไป ซึ่งสุนัขก็จะพยายามช่วยตัวเองโดยไปหาหญ้าขนมากิน ซึ่งหญ้าจะช่วยให้อาเจียนเจ้าเศษอาหารไม่ย่อยเหล่านั้นออกมาและเมื่อได้อาเจียนเอาของเสียออกมาแล้ว สุนัขก็หายป่วยได้ แต่ถ้าสุนัขของเราอาเจียนหลายครั้งหลายวัน ก็ควรจะรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล เพราะสาเหตุของการอาเจียนนั้นอาจมาจากการอุดตันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ หรือสัตว์มีปัญหาตับไตผิดปกติ รวมถึงตับอ่อน อักเสบหรือโรคไทรอยด์
ถ้าหากอาเจียนชั่วโมงละหลายครั้ง ท่านให้ระวังสารพิษหรือยาเบื่อสุนัขที่สุนัขโดนวางยาเข้าไป ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลสัตว์ทันที 

อาการที่ 4 : กระหายน้ำบ่อยขึ้น

การกินน้ำบ่อยขึ้น กินน้ำเยอะขึ้นนั้นเราสามารถสังเกตได้จากการที่เราต้องเติมน้ำกินให้สุนัขของเราบ่อยขึ้นในแต่ละวัน อาการกินน้ำบ่อยหรือกินน้ำเยอะขึ้นนั้น บ่งบอกถึงโรคเบาหวานสารพิษ โรคไตหรือโรคตับ

อาการที่ 5 : ฉี่บ่อยขึ้น

อาการฉี่บ่อยขึ้นนั้นอาจเกิดร่วมกับอาการกระหายน้ำบ่อยได้ เช่น โรคเบาหวาน ฯลฯ แต่อาการปัสสาวะบ่อยขึ้นก็อาจมาจากโรคไต หรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้
ในกรณีที่สุนัขไปปัสสาวะในสนามหญ้าหลังบ้านเป็นประจำก็อาจสังเกตอาการฉี่บ่อยได้ค่อนข้างลำบากหน่อย



อาการที่ 6 : ไม่ยอมกินอาหารเกิน 48 ชั่วโมง

บางทีสุนัขก็อาจเบื่ออาหารได้ ซึ่งส่วนใหญ่สุนัขมักจะเริ่มกินอาหารเองหลังจากที่ไม่ได้กินอาหารมา 1 วัน แต่อย่างไรก็ตามหากเกิน 48 ชั่วโมงแล้ว สุนัขยังไม่ยอมกินอาหารเลยนั้น บ่งบอกถึงเรื่องไม่ธรรมดาแล้ว สุนัขมักจะเริ่มป่วยหนักแล้ว ให้รีบพาหาหมอโดยด่วน

อาการที่ 7 : ปวดเบ่งปัสสาวาหรือเบ่งอุจจาระ

หากสุนัขแสดงอาการปวดเบ่งปัสสาวะ หรือเบ่งอุจจาระ เช่น มีการส่งเสียงร้องครวญครางตอนเบ่งอึหรือเบ่งฉี่แล้วล่ะก็ แปลว่าสุนัขกำลังส่งสัญญาณเตือนภัยถึงปัญหาทางเดินปัสสาวะอุดตัน (เช่นมีก้อนนิ่ว) โรคไต, ท้องผูกรุนแรง หรือต่อมลูกหมากโต ฯลฯ

อาการที่ 8 : ถ่ายดำหรือมีเลือดปนในอุจจาระ

อาการถ่ายดำนั้นมักจะมาจากอาการลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืต่อมก้นอักเสบ แต่หากเจ้าของให้สุนัขกินตับมากๆหรือกินยาบำรุงเลือดก็อาจทำให้อุจจาระสีดำได้ ส่วนอุจจาระมีเลือดปนนั้นแสดงว่ามีเลือดออกในลำไส้ มะเร็งลำไส้ พยาธิลำไส้ หรือมีสิ่งแปลกปลอมในลำไส้ เช่น กินเศษกระดูกเข้าไป

 


   
ปลาน้ำจืดไทย   ป่าเขา-ทะเลไทย   เที่ยวจัง!...ตังค์จะหมดแล้ว...

 



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4 /สพ.ญ.มนัสนันท์ ธาราทรัพย์ /http://www.vet4polyclinic.com /
http://www.thaiaga.org / http://www.dogthailand.net / http://www.petgang.com

 

http://www.thaithesims3.com /http://www.dogdigg.com / http://farmthaionline.com                     

   
 


[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับน้องตูบ
- หมาจ๋า [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- อีฮโยริ ควงแฟนหนุ่มสร้างบ้านให้หมาจรจัด [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- “Pet Master”ฌาปนกิจสัตว์เลี้ยงครบวงจรเอาใจคนรักน้องหมา [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- คนรักหมาบุกรัฐสภา ร้องออก พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- จะดูยังไงว่าน้องตูบป่วยหรือเปล่า! [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ? [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- โรคมะเร็งในน้องตูบ [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- โรคเบาหวานในน้องตูบ [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- กระจกตาเสื่อมเนื่องจากไขมัน [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
- พยาธิหนอนหัวใจ [4 เมษายน 2555 11:39 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY