สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 4
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 131
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,175,456
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
29 มีนาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
     
10  11  12  13  14  15  16 
17  18  19  20  21  22  23 
24  25  26  27  28  29  30 
31             
 
พืชขาดธาตุอาหารอะไร ?..ใส่ใจสักนิด...
[22 มีนาคม 2557 23:50 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5320 คน
พืช ขาดธาตุอาหารอะไร ?..ใส่ใจสักนิด..



ดินที่ใช้ปลูกพืชนั้นๆ มีลักษณะอย่างไรมีธาตุอาหารเพียงพอหรือไม่ และจะทำการแก้ไขอย่างไร อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อควรระวังหลายประการ เช่น
• อาการขาดธาตุชนิดเดียวกันในพืชแต่ละชนิดอาจมีลักษณะต่างกัน
• การขาดธาตุ ถ้าขาดไม่มากพืชมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่มีผลทำให้ผลผลิตลดลง
• ถ้าเป็นพืชอายุสั้น เมื่อพืชแสดงอาการผิดปกติ มักจะแก้ไขไม่ทันการเสียแล้ว
• ถ้าขาดธาตุมากกว่าหนึ่งธาตุจะสังเกตอาการผิดปกติได้ยากขึ้น
• มีลักษณะอาการผิดปกติที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น พืชขาดน้ำ ดินเค็ม โรค และแมลงต่างๆ อาจมีลักษณะคล้ายๆ กับอาการขาดธาตุอาหาร ทำให้เข้าใจผิดว่าพืชขาดธาตุอาหาร

เราแบ่งกลุ่มการขาดธาตุอาหารตามลักษณะและบริเวณที่พืชแสดงอาการได้ 3 กลุ่ม คือ

1. ถ้าพืชแคระแกร็น มีอาการแสดงออกเฉพาะที่ใบแก่ ใบร่วงเร็ว แสดงว่าน่าจะขาดธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือ โปตัสเซียม นอกจากนี้การขาด แมกนีเซียม ก็แสดงอาการที่ใบแก่เช่นกัน อย่างไรก็ตามในดินที่มีอินทรีวัตถุมากไม่น่าจะขาด ไนโตรเจน ดินเหนียวไม่น่าจะขาด โปตัสเซียม และดินที่ไม่เป็นกรดน่าจะมี แมกนีเซียม เพียงพอ

2. ถ้าพืชแสดงอาการที่ส่วนยอดและลุกลามมายังใบที่โตเต็มที่แล้ว อาการแบบนี้มักจะเกิดจากการขาดธาตุ กำมะถัน ทองแดง สังกะสี โมลิบดินัม หรือ คลอรีน แต่โดยปกติคลอรีนมีมากในดินและน้ำ พืชจึงไม่ค่อยขาดคลอรีน อาการขาดธาตุพวกนี้จะคล้ายๆ กันคือใบพืชจะขาดสีเขียว ใบเหลืองด่างหรือขาวเหลือง ในดินที่เป็นด่างจะขาดทองแดงและสังกะสี

3. ถ้าพืชแสดงอาการเฉพาะที่ส่วนยอด ซึ่งมักจะเกิดกับพืชที่โตแล้วแสดงว่าพืชอาจจะขาดธาตุอาหารพวก แคลเซียม เหล็ก แมงกานีส หรือ โบรอน ซึ่งถ้าจะแยกว่าขาดอะไรให้ดูอาการและลักษณะของดินประกอบ เช่น ถ้าดินเป็นด่างไม่น่าจะขาด แคลเซียม ถ้าขาด เหล็ก ใบอ่อนจะเป็นสีขาวเหลืองแต่เส้นใบเขียวชัดเจน ถ้าขาดโบรอนอาจมีใบขาดวิ่นหรือต้น-หัวมีจุดสีน้ำตาล


การแก้ไข

• ถ้าพืชขาดธาตุอาหารหลักพวก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปตัสเซียม นิยมใส่ปุ๋ยให้ทางดิน เพราะพืชต้องการมาก การให้ปุ๋ยทางใบโดยปกติจะช่วยเสริมให้สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีในช่วงแรกๆ ปุ๋ยที่ใช้ควรเลือกสูตรให้เหมาะสมตามลักษณะที่พืชขาด ตัวเลขสูตรปุ๋ย เช่น 30-20-10 หมายถึงปริมาณของ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปตัสเซียม ในปุ๋ยนั้นตามลำดับ

• ถ้าพืชแสดงอาการขาด แคลเซียม หรือ แมกนีเซียม ซึ่งโดยปกติจะพบในดินที่เป็นกรด แก้ไขได้โดยการใส่ปูน ถ้าขาดแคลเซียมอาจใช้ปูนมาร์ล ปูนขาวหรือหินปูนบด แต่ถ้าขาด แมกนีเซียม ด้วยควรใช้ปูนโดโลไมต์ เพราะมีทั้ง แคลเซียม และ แมกนีเซียม

• ถ้าพืชขาดจุลธาตุ ควรปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน pH ให้มีค่าประมาณ 5.5-7 เพราะดินในสภาพนี้จุลธาตุจะละลายออกมาให้พืชใช้ได้พอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป แต่ถ้าดินมีธาตุเหล่านี้น้อยนิยมเพิ่มในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพราะปุ๋ยพวกนี้มีธาตุเหล่านี้อยู่ด้วย อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยให้ทางดินอาจจะช้าแก้ไขได้ไม่ทันการ ดังนั้นอาจมีการฉีดพ่นให้ทางใบด้วย ในปัจจุบันมีปุ๋ยที่มีพวกจุลธาตุผสมอยู่มาก เช่น ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำ แต่ถ้าทราบว่าขาดจุลธาตุเพียง 1 หรือ 2 ตัว ก็อาจหาซื้อปุ๋ยที่มีเฉพาะธาตุนั้นๆ มาฉีดให้ทางใบก็ได้ เช่น เหล็กคีเลทให้ธาตุเหล็ก แมงกานีสซัลเฟตให้ แมงกานีสและกำมะถัน ซิงซัลเฟตให้สังกะสีและกำมะถัน คอปเปอร์ซัลเฟตให้ทองแดงและกำมะถัน โบแร็กซ์ให้โบรอน แอมโมเนียมโมลิบเดทให้โมลิบดินัมและไนโตรเจน และอื่นๆ อีกมาก

แนวทางการปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ



   ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูก ที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นดิน ที่เสื่อมค่า ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินกรวด ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่ดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดิน ที่มีหน้าดินถูกชะล้าง ดินเหล่านี้ สามารถปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ใช้ ในการเพาะปลูกได้ การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติเป็นทางหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ได้ เป็นวิธี ที่ทำได้ง่าย เป็นการใช้วัสดุ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้มาทำ ให้เกิดประโยชน์ ในการปรับปรุงบำรุงดินเป็นการใช้พืช และ สัตว์เป็นแหล่ง ของธาตุอาหารพืช ในดิน ตลอดจนการเขตกรรม และ ระบบการจัดการเกษตร ที่เหมาะสม เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์มาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้เกิดผลผลิตที่บริสุทธิ์ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพิษอีกด้วยอย่างไรก็ตาม การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาตินั้น จะต้องคำนึงถึงความสมดุลทางเคมี ชีวะ และ กายภาพ เป็นหลัก ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยวิธีต่างๆ ดังนี้

1. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ระบบพืชประกอบด้วย
1.1 การปลูกพืชต่างชนิดแบบผสมผสาน
1.2 การปลูกพืชหมุนเวียน
1.3 การปลูกพืชสดเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน
1.4 การปลูกพืชคลุมดิน
วิธีดังกล่าวจะให้ประโยชน์ดังนี้
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
2. สะสมธาตุอาหารให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ป้องกันดินเป็นโรค
5. ป้องกันการชะล้าง และ พังทลาย ของดิน
6. ลดศัตรูพืช ในดิน
7. รักษาอุณหภูมิดิน
8. ทำให้ดินร่วนซุยอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง

2. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
2.1 การใช้ปุ๋ยคอก
2.2 การใช้ปุ๋ยหมัก
2.3 การใช้เศษพืช
การใช้วัสดุดังกล่าวปรับปรุงบำรุงดินจะก่อให้เกิดประโยชน์คือ
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
2. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ช่วยลดความเปรี้ยว ความเค็ม ความเป็นด่าง ของดินให้น้อยลง
5. ลดศัตรูพืช ในดิน
6. ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินอุ้มน้ำ ได้ดีขึ้น ดินไม่แข็ง
7. ช่วยดินมีพลังสามารถรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
8. รักษาอุณหภูมิดิน
9. ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

3. การใช้จุลินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินจะช่วย
3.1 สร้างธาตุอาหาร
3.2 แก้ไขการขาดสมดุล ของจุลินทรีย์ ในดิน
3.3 ช่วยป้องกันดินเป็นโรค
3.4 ช่วยย่อยอินทรีย์สาร และ อนินทรีย์สาร ในดินให้เกิดประโยชน์
3.5 ลดสารพิษ ในดิน และ ทำให้ดินสะอาด

4. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุ ที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ
4.1 การใช้ปุ๋ยมาร์ล (Mar) โดโลไมท์ (Dolomite)หินฟอสเฟต (Rock phosphate) หินฝ่นปะการัง และเปลือกหอย กระดูกป่น (Ground bone) เป็นวัสดุปรับปรุงดินเปรี้ยว เพื่อลดความเปรี้ยว ของดินให้น้อยลง และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืช เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซียมและ ฟอสฟอรัสให้ แก่ดิน
4.2 การใช้แร่ยิปซัม (CaSO 4 2H2O) ลดความเค็ม และเพิ่มธาตุอาหารเช่น แคลเซียม และ กำมะถันให้ แก่ดิน

5. การใช้เขตกรรม การไถพรวนลึก ช่วยปรับปรุงดินได้ คือ
5.1 ป้องกันการเกิดโรค ในดิน
5.2 ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ของดิน
5.3 เพิ่มชั้นดินให้สูงขึ้น

6. การใช้น้ำฝน

น้ำฝนเป็นน้ำ ที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติ ขณะ ที่ฝนตกมีฟ้าแลบ ทำให้ก๊าซไนโตรเจนทำปฏิกิริยา กับก๊าซไฮโดรเจนเป็นแอมโมเนีย (NH3) ก๊าซนี้ละลายปะปนมา กับน้ำฝนช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ในดินเป็นประโยชน์ ต่อพืช ที่ปลูกได้

7. การปรับปรุงดิน โดยใช้ไส้เดือน ประโยชน์
7.1 พรวนดินทำให้ดินร่วนซุย
7.2 สร้างอินทรียวัตถุ
7.3 เพิ่มธาตุอาหารพืช
7.4 ป้องกันน้ำท่วม
7.5 เพิ่มช่องอากาศ ในดิน

ขอบคุณความรู้ดีๆจาก www.asoke.info
ฟาร์มดี (ฟาร์มไส้เดือนของคนพิการ)

[ +zoom ]
สาระความรู้ทั่วไปสำหรับเจ้าของน้องตูบ
- อาหารแสลง ที่ควรเลี่ยงเมื่อป่วย [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- พืชขาดธาตุอาหารอะไร ?..ใส่ใจสักนิด... [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- ปวดท้อง...ลางบอกโรคร้ายของคุณ [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำและลดความเสี่ยง จากโรคมะเร็ง [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- ซอสปรุงรส [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- รู้จักไหม?...“ต้นผึ้ง” มีหนึ่งเดียวที่ราชบุรี [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- เลือดจระเข้ [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- การทำน้ำด่าง (อัลคาไลน์) สำหรับดื่มอย่างง่าย [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- กิน ‘สมอ’ ดีเสมอ [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
- ปัสสาวะหลวงพ่อ [22 มีนาคม 2557 23:50 น.]
ดูทั้งหมด

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY