 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
6
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,290
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
5,651,738
|
|
|
|
|
9 พฤษภาคม 2568
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พฤติกรรมเสี่ยง...
[27 เมษายน 2554 16:02 น.]จำนวนผู้เข้าชม 6706 คน |
|

พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตของสาวๆ ในยุคปัจจุบัน ล้วนเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปวดกล้ามเนื้อ ปวดคอ ปวดหลัง ดร.มนต์ทณัฐ โรจนาศรีรัตน์ ไคโรแพร็กติกแพทย์ กล่าวว่า ความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายส่วนใหญ่มักเกิดจากการมี "พฤติกรรม" การใช้ร่างกายไม่เหมาะสม โดยเฉพาะระบบข้อต่อ การมีอิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ผิดท่าทางและเกิดขึ้นซ้ำๆ จนทำให้เกิดการเกร็งผิดปกติของกล้ามเนื้อ จะส่งผลต่อกระดูกซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของร่างกาย และส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ตามมา
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้การทำงานของโครงสร้างร่างกายสมดุล จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้เบิกบาน และพักผ่อนให้เพียงพอ
สำหรับพฤติกรรมเดิมๆ ที่สาวๆ อาจทำด้วยความเคยชินเป็นประจำทุกวัน แต่กลับเป็นการทำร้ายโครงสร้างของร่างกายให้เสียสมดุลโดยไม่รู้ตัว พฤติกรรมแรกที่เห็นชัดเจนคือ การใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งเป็นที่มาของอาการปวดบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
ไม่ว่าจะเป็น เท้า ที่ต้องทำหน้าที่รักษาสมดุล ความลาดเอียงของรองเท้าส้นสูงที่มีมากเกินไปจะส่งผลต่อกระดูกที่ฝ่าเท้า อาจมีอาการปวดเมื่อยจนอักเสบ น่อง ลักษณะการเดินเขย่งเมื่อใส่รองเท้าส้นสูงจะทำให้กล้ามเนื้อน่องสั้นขึ้น บริเวณน่องเกิดความตึงตัว การไหลเวียนของเลือดติดขัด ข้อเท้า การขยับข้อเท้าในขณะสวมรองเท้าส้นสูงอยู่นั้น หากทำผิดจังหวะอาจทำให้ข้อเท้าแพลงได้ เข่า ต้องรับน้ำหนักมากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการปวด โรคกระดูก หรือข้อต่ออักเสบ หลัง การใส่ส้นสูงทำให้เดินเหมือนเขย่ง กล้ามเนื้อขาและลำตัวต้องทำงานมากขึ้น บริเวณหลังจะเกิดการแอ่นมาก นำมาสู่การปวดหลังนั่นเอง
การใส่รองเท้าส้นสูงที่เหมาะสมและไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเท้า จึงควรเป็นรองเท้าที่สูงไม่เกิน 1 นิ้วครึ่ง ที่สำคัญอย่าลืมสลับการใส่รองเท้าส้นสูงกับรองเท้าส้นเตี้ยบ้าง เพื่อให้เท้า ขา เข่า และหลังได้พักบ้าง
ส่วนสาวๆ ที่ชอบพกพาของจุกจิกทุกสิ่งทุกอย่างไปด้วยทุกที่ทุกเวลา เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเช่นกัน เพราะด้วยความเคยชินที่ต้องสะพายกระเป๋าหนักๆ ใบนั้น ด้วยไหล่ข้างเดียวนานๆ ทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักเพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกคด ควรนำของที่ไม่จำเป็นออกจากกระเป๋าและพยายามสลับข้างสะพายบ้าง หรือเปลี่ยนมาใช้วิธีถือแทนการสะพาย เพื่อให้ร่างกายทั้งสองข้างสมดุล
ส่วนข้อนี้สาวนักช็อปคงต้องระวังให้ดี นั่นคือ การหิ้วของหนักๆ ด้วยนิ้วเพียงบางนิ้ว เนื่องจากการใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อยๆ จะทำให้เกิดพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ เพราะกล้ามเนื้อมือและนิ้วเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก มีหน้าที่ใช้หยิบจับของเบาๆ หากต้องใช้จับหรือหิ้วของหนักๆ จะทำให้เส้นเอ็นมีการเสียดสีและเกิดพังผืดขึ้นในที่สุด
การหิ้วของหนักมากๆ จะทำให้กล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ถูกรั้ง และเกี่ยวโยงไปถึงกระดูกคอ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งมากกว่าปกติ มีผลต่อการทรุดของกระดูกและกดทับเส้นประสาทได้
พฤติกรรมต่อมาคือ นั่งไขว่ห้าง เป็นการทิ้งน้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป ส่งผลให้กระดูกบริเวณนั้นคดหรือผิดรูป
การนั่งเก้าอี้ไม่เต็มก้น ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบเกินไป ในทางตรงข้าม ถ้านั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น โดยการเลื่อนก้นให้เข้าไปถึงด้านในสุดจนติดพนักพิง จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานน้อยลง เกิดการรองรับน้ำหนักตัวได้เต็มที่นั่นเอง
การนั่งหลังงอ ห่อไหล่ โดยเฉพาะสาวๆ ที่นั่งทำงานในออฟฟิศซึ่งต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานนานๆ และหลายคนมักโน้มตัวไปจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ กระดูกและกล้ามเนื้อของไหล่ หลัง และคอจะค่อยๆ พัฒนาตัวเอง คือ กระดูกหลังจะงอ กระดูกไหล่จะห่อเข้า กระดูกคอจะยื่นไปข้างหน้าแบบถาวร เพื่อให้รองรับกับการใช้งานที่เราต้องการได้อย่างสะดวก เป็นที่มาของโรคข้อกระดูกเสื่อม
การนั่งกอดอก สาวๆ ที่ชอบนั่งกอดอกเป็นเวลานานๆ กำลังทำให้หลังช่วงสะบักและหัวไหล่ยืดออก หลังช่วงบนจะค่อมและงุ้มไปด้านหน้าทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปหล่อเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือมีอาการชาได้
การยืนหลังแอ่น หรือยืนหลังค่อม จะทำให้แนวกระดูกช่วงล่างแอ่น เกิดอาการปวดหลังตามมา การยืนที่ถูกต้องคือต้องยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย รวมไปถึงขณะเดินและนั่งควรแขม่วท้องเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง
ยืนพักขา เป็นการยืนโดยทิ้งน้ำหนักตัวลงไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว ทำให้กล้ามเนื้อขาข้างนั้นๆ ต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป และทำให้กระดูกเชิงกรานบิดเบี้ยว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคด การยืนที่ถูกต้องคือต้องลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน
พฤติกรรมสุดท้ายคือ การนอนขดตัว หรือนอนตะแคง จะทำให้กระดูกสันหลังไม่อยู่ในแนวตรง ท่านอนที่ถูกต้อง คือ ท่านอนหงาย โดยให้หน้าขนานกับเพดาน ไม่หงายไปด้านหลัง หรืองอมาด้านหน้ามากเกินไป หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคง ให้หาหมอนข้างมาก่าย โดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้างเพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง
พฤติกรรมทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมา ล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัว และส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้หญิงที่ดำเนินชีวิตด้วยพฤติ กรรมเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนโครงสร้างร่างกายไม่สมดุล ส่งผลเป็นอาการปวด
ที่มา : ข่าวสดออนไลน์ |
|
|
|