สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 3
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 274
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 5,199,056
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
20 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             
 
มะอึก : มะเขือป่าอุดมขนและผลโต
[10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]จำนวนผู้เข้าชม 5544 คน
มะอึก : มะเขือป่าอุดมขนและผลโต



มะอึก : ญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง 
     อาจกล่าวได้ว่า มะอึกเป็นญาติสนิทของมะเขือพวงและมะแว้ง โดยเฉพาะมะแว้งต้น) เพราะเป็นมะเขือป่าที่มีลักษณะร่วมกันหลายอย่าง ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะพิเศษอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองด้วย เรามาทำความรู้จักกับมะอึกพอสังเขปก่อน
     มะอึกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solanum ferox Linn. เป็นพืชวงศ์ Solanaceae เช่นเดียวกับมะเขือพวงและมะแว้งนั่นเอง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 150 - 200 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาไม่มากเท่ามะเขือพวง ใบคล้ายของมะเขือพวง แต่ขนาดโตกว่าเล็กน้อย มีหนามตามลำต้น และกิ่งก้านเช่นเดียวกัน กลีบดอกสีม่วงและเกสรตัวผู้สีเหลือง ออกผลเป็นกลุ่มเช่นเดียวกัน แต่ไม่มากเท่ามะเขือพวงหรือมะแว้ง ปกติติดผลช่อละ 3 - 5 ผล ผลมีขนาดโตกว่ามะเขือพวง คือ ผลกลม เส่นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร หรือขนาดผลพุทราพื้นบ้าน ผลอ่อนของมะอึกมีสีเขียว เมื่อผลแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงแสดเมื่อผลสุก ในผลสุกมีเมล็ดขนาดเล็กมากมายเช่นเดียวกับมะเขือพวงและมะแว้ง ผลสุกมีรสเปรี้ยว ต่างจากผลสุกของมะเขือพวงและมะแว้ง ลักษณะสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์ของมะอึกก็คือ ทั้งลำต้น กิ่งก้าน ใบ และผลตั้งแต่อ่อนจนสุก จะปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาว ขนค่อนข้างยาวและหนากว่าญาติมะขือทุกชนิดที่คนไทยนำมาบริโภค
     มะอึกมีชื่อเรียกต่างกันตามภาค คือ มะอึก (กลาง) มะเขือปู่ มะปู่ (เหนือ) บักเอิก (อีสาน) และอึก (ใต้)

มะอึกในฐานะผัก
     ส่วนของมะอึกที่นำมาใช้ประกอบอาหารคือ ผลทั้งดิบและสุก นิยมนำไปเป็นเครื่องชูรส เพราะมีรสเปรี้ยว ในอดีตคนไทยนิยมนำมะอึกมาปรุงเครื่องจิ้มต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำพริกมะอึกจะมีรสเปรี้ยวแทนที่มะนาวหรือมะขาม เช่น น้ำพริกสามมะ (มะอึก มะดัน มะขาม) น้ำพริกกะปิ น้ำพริกเสวย น้ำพริกพริกไทยอ่อน น้ำพริกผักต้มกะทิ น้ำพริกลงเรือหมูหวาน น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกแมงดา น้ำพริกไข่เค็ม น้ำพริกนครบาล น้ำพริกผักต้มสำเร็จ น้ำพริกหลนผักหรู น้ำพริกกุ้งแห้ง น้ำพริกปลาสลาด น้ำพริกผักดองสด น้ำพริกนางลอย ฯลฯ เป็นต้น
     นอกจากเครื่องจิ้มแล้ว มะอึกยังใช้ในการปรุงแกงที่ออกรสเปรี้ยวบางตำรับ เช่น แกงคั่วส้มต่าง ๆ (ปลาไหลย่าง ตะพาบน้ำ เป็ด หมูป่า ขาหมู หมูสามชั้น ฯลฯ) แกงคั่วต่าง ๆ (อ้น เป็ด ฯลฯ) แกงหมูตะพาบน้ำ เป็นต้น
     การนำผลมะอึกทั้งดิบและสุกมาใช้ปรุงอาหารนั้น ต้องถูเอาขนอ่อนที่ปกคลุมผิวนอกผลออกให้เกลี้ยงเสียก่อน เพราะมะอึกเป็นมะเขือป่ามีผลปกคลุมด้วยขนเพยงชนิดเดียวที่คนไทยนำมาประกอบอาหาร
     คนไทยนิยมนำผลมะอึกสุกมาประกอบอาหารมากกว่าผลดิบ ส่วนใหญ่จะใช้ผลสุกเป็นหลัก อาหารบางตำรับใช้มะอึกผลดิบบ้าง แต่ต้องใช้ร่วมกับผลสุกเสมอ ไม่ใช้ผลดิบเพียงอย่างเดียว รสชาติของมะอึกแม้จะมีรสเปรี้ยวเป็นหลัก แต่ก็มีรสและกลิ่นพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง  ทำให้อาหารที่ใช้มะอึกปรุงมีรสชาติต่างออกไปจากการใช้รสเปรี้ยวจากแหล่งอื่น ๆ ( เช่น มะนาว มะม่วง มะขาม มะดัน ฯลฯ) คนไทยในอดีตจึงเลือกใช้เครื่องปรุงที่ให้รสเปรี้ยวจากพืชต่าง ๆ หลายชนิด เพื่อให้เกิดความหลากหลายในรสชาติ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างน้ำพริกตำรับต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายนับร้อยนับพันตำรับ เป็นต้น

ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของมะอึก
     เนื่องจากมะอึกเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมชนิดหนึ่งของไทย คนไทยจึงรู้จักนำมะอึกมาใช้ประโยชน์มายาวนาน ทั้งด้านอาหารและยา อันถือเป็นปัจจัย 4 ของการดำรงชีวิตที่สำคัญที่สุด ตำราสมุนไพรไทยบรรยายสรรพคุณทางยาของมะอึกไว้ว่า 
          ผล : รสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว แก้ไข้สันนิบาต
        ราก : รสเปรี้ยว เย็นน้อย แก้ดีฝ่อ ดีกระตุก (นอนสะดุ้งผวา หลับ ๆ ตื่น ๆ เพราะโทษน้ำดีทำ) แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อนภายใน
     ในมาเลเซียใช้เมล็ดมะอึกรักษาอาการปวดฟัน โดยมวนเมล็ดมะอึกแห้งในใบตองแห้งแล้วจุดสูดควันเข้าไป ลักษณะร่วมกันของมะเขือป่าทั้ง 3 ชนิด (มะเขือพวง มะแว้ง และมะอึก) คือ ผลสุกมีสีสดใส (แสดแดง) ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ลักษณะดังกล่าวดึงดูดนกให้มากินผลสุกแล้วนำเมล็ดไปถ่ายตามที่ต่าง ๆ เป็นการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของมะเขือป่าหลายชนิด เช่นเดียวกับพืชดั้งเดิมบางชนิด เช่น ฝรั่ง (ฝรั่งขี้นก) และพริก (พริกขี้นก) รวมทั้งมะระหรือผักไห่ (มะระขี้นก) เป็นต้น
     มะอึกจึงเป็นผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับปลุกเอาไว้ในสวนครัวหรือสวนหลังบ้านเป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งปลุกง่าย แข็งแรงทนทานต่อโรคแมลง และดินฟ้าอากาศ ปลุกครั้งเดียวใช้ประโยชน์ได้หลายปี เป็นทั้งอาหารและยา ตลอดจนล่อนกให้มาเยี่ยมเยียน เรียกว่าปลูกครั้งเดียวได้ทั้งอาหารปาก อาหารตา อาหารใจ เป็นทั้งยารักษาร่างกายและเป็นการสร้างกุศลไปในคราวเดียวกัน

ที่มา :
www.doctor.or.th

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
พืชผักสวนครัวและผลไม้ไทย
- ลำพู [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- มะเดื่อฝรั่ง(Fig) [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- หน่อกะลา ถือเป็น ผักพื้นบ้าน ของ เกาะเกร็ด [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- ต้นอ้อดิบ(ต้นคูน) [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- ทุเรียนน้ำ...ทุเรียนเทศ...ทุเรียนแขก [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- ดอกดาวเรืองกินได้ทั้งดอกและยอด [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- ตะลิงปลิง...ผลไม้สุดเปรี้ยว...นี่ก็อีกต้นที่ปลูกหน้าบ้าน [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- สัปปะรด พันธุ์เพชรบุรีที่กินได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- ผักหนาม [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
- ต้นสาคู [10 สิงหาคม 2554 11:00 น.]
ดูทั้งหมด

  แสดงความคิดเห็น

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

ชื่อ: *
E-mail : *
ไม่ต้องการแสดง Email
รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป

Copyright@2010 by www.nongtoob.com All right reserved.
Engine by MAKEWEBEASY